สารพัดคำถามแม่ค้ามือใหม่ขายของใน Shopee หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย!
Khun Big 27 ก.ย. 2023 05:58
เปิดร้านใน Shopee ทำยังไง? พร้อมคำถามยอดฮิตสำหรับมือใหม่ หาคำตอบได้ที่นี่
ใครที่มีแพลนอยากขายสินค้าออนไลน์ล้วนต้องอยากสมัครขายของใน Shopee กันทั้งนั้น เนื่องจากท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือดบนตลาดแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ‘ช้อปปี้’ ถูกจัดเป็นตัวกลางที่มีฐานลูกค้ามากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง อีกทั้งกระแสของการค้าขายบนช่องทางออนไลน์ที่กำลังเติบโต ทำให้เหล่าพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ที่กำลังสนใจอยากลองเปิดร้านขายของแบบออนไลน์กับเขาบ้าง ล้วนต้องพิจารณาเลือกใช้แพลตฟอร์มตัวนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ บทความนี้ทาง Zortout จึงได้รวบรวมวิธีการสมัครใช้งานขั้นเบื้องต้นเพื่อให้เหล่าผู้ประกอบการรู้ว่าการเริ่มต้นเปิดร้านด้วยตนเองต้องทำยังไง รวมถึงคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสมัครขายของใน Shopee มาไว้ที่นี่ที่เดียว
วิธีสมัครและเปิดร้านขายของใน Shopee
Step 1: สมัครสมาชิกบน Shopee ตามปกติ หากใครที่มีบัญชีที่ใช้ซื้อของอยู่แล้วสามารถใช้บัญชีนั้นได้เลย
Step 2: ตั้งค่าร้านค้า
2.1 ไปที่เมนูขาย เพื่อเข้าสู่ระบบ Seller Center
2.2 คลิกที่แถบร้านค้า และเลือกไปที่ ‘รายละเอียดร้านค้า’
2.3 ตั้งชื่อร้านค้า
ไม่เกิน 30 ตัวอักษร แนะนำให้ตั้งชื่อที่เป็นทางการไปเลยเพื่อลดความสับสน
2.4 เพิ่มรูปร้านค้าหรือวิดีโอโปรโมทร้าน (ใช้เป็น Youtube Link เท่านั้น)
2.5 ใส่รายละเอียดเกี่ยวกับร้านค้า เช่น ประวัติความน่าเชื่อถือ ประเภทของสินค้าและบริการคร่าว ๆ
ข้อห้าม! ไม่แนะนำให้ใส่ช่องทางการติดต่ออื่น เช่น Facebook Page, หรือเบอร์โทรศัพท์ เพราะถือเป็นการละเมิดกฎการใช้งานของ Shopee
2.6 คลิกที่ ‘บันทึก’
Step 3: ตั้งค่าบัญชีธนาคาร
3.1 ไปที่หน้า Seller Center แล้วเลือก ‘การเงิน’ คลิกไปที่ ‘บัญชีธนาคาร’
3.2 ใส่รหัสผ่านเพื่อ Log in
3.3 กดเพิ่มบัญชีธนาคารแล้วเลือกตกลง
ใส่ชื่อนามสกุลและเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือหากเป็นร้านค้านิติบุคคล ก็สามารถใส่ชื่อบริษัทที่จดทะเบียนและเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักแทนได้เลย
3.4 เมื่อเข้าสู่หน้ารายละเอียดผู้ใช้ ให้ใส่ชื่อบัญชีที่ตรงกับหน้า Book Bank เลขบัญชี และเลือกธนาคาร
ทาง Shopee แนะนำว่าให้ใช้เป็นบัญชีของธนาคารดังนี้ ได้แก่ ไทยพาณิชย์, กสิกร, กรุงไทย และกรุงเทพ เพราะร้านค้าจะสามารถทำรายการถอนเงินได้โดยไม่เว้นวันเสาร์-อาทิตย์
Step 4: ตั้งค่าการจัดส่ง
4.1 ไปที่ Seller Center คลิกไปที่ ‘การจัดส่งของฉัน’ และเลือก ‘การตั้งค่าการจัดส่ง’
4.2 เมื่อเข้าสู่การตั้งค่าจัดส่ง ให้เลือกเปิดสวิชใช้งานการจัดส่งตามที่ร้านค้าต้องการ โดยละเอียดมีดังนี้
Standard Delivery (Normal): จัดส่งสินค้าน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม ขนาดบรรจุ (กว้าง*ยาว*สูง) ไม่เกิน 180 เซนติเมตร/หากต้องการขายแบบ Cash on Delivery ต้องเลือกการจัดส่งแบบนี้เท่านั้น
Standard Delivery (Bulky): จัดส่งสินค้าน้ำหนักเกิน 20 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 100 กิโลกรัม ขนาดบรรจุ (กว้าง*ยาว*สูง) ไม่เกิน 600 เซนติเมตร
Thailand Post – EMS: จัดส่งแบบด่วน สำหรับสินค้าน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม
Thailand Post – Registered Mail: จัดส่งแบบลงทะเบียน สำหรับสินค้าน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม
Seller Own Fleet: การจัดส่งแบบที่ร้านค้าสามารถเลือกบริษัทโลจิสติกส์นอกเหนือจากที่ Shopee ให้บริการได้ แต่ต้องทักไปพูดคุยและให้เหตุผลกับเจ้าหน้าที่เอง
อยากเปิดทีเดียวหลายร้าน Shopee ทำได้ไหม?
อีกปัญหาที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนสงสัย คือหากร้านของเราขายสินค้าหลากประเภท แล้วไม่อยากให้สินค้ามาปนกัน เราสามารถเปิดร้านขายสินค้าหลาย ๆ ร้านบน Shopee ได้หรือไม่
คำตอบในขณะนี้คือยังไม่สามารถทำได้ หากร้านค้าอยากเปิดหลายร้าน ต้องทำการสมัครบัญชีผู้ใช้ใหม่และทำการเปิดร้านใหม่จากบัญชีนั้นเท่านั้น
วิธีลงขายสินค้ากับ Shopee แบบ Step by Step
Step 1: ไปที่เมนู ‘ฉัน’ คลิก ‘เริ่มขาย’ เพื่อเข้าไปที่หน้าเพิ่มสินค้า
Step 2: เพิ่มรูปภาพสินค้า โดยการอัพโหลดภาพที่มีอยู่แล้ว หรือถ่ายใหม่ หรือเลือกจาก Instagram โดยสินค้าหนึ่งรายการสามารถอัพโหลดได้สูงสุด 9 รูป
Step 3: ใส่รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า ได้แก่ ชื่อสินค้า หมวดหมู่ ราคา จำนวนที่มีอยู่ในคลัง
Step 4: หากเป็นสินค้าพรีออเดอร์ที่ต้องใช้เวลาเตรียมพัสดุนาน 7-20 วันให้เลือกเปิดการใช้งาน ‘เตรียมส่งนานกว่าปกติ’ หากเป็นสินค้าที่มีสต็อกอยู่แล้ว ให้เลือกปิดการใช้งานเตรียมส่งนานกว่าปกติ โดยระบบจะเซ็ตเวลาเป็นระยะจัดเตรียมสินค้าเป็น 2 วันโดยอัตโนมัติ
Step 5: กดส่ง
ขายของใน Shopee ได้เงินยังไง เสียเงินไหม
ค่าธรรมเนียมการขาย
สำหรับใครที่สงสัยว่าขายของบน Shopee ต้องเสียค่าอะไรบ้าง ก่อนอื่น การลงสินค้าและเปิดร้านใน Shopee ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่หากมีการซื้อสินค้าเกิดขึ้นจริง โดยปกติผู้ค้าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 3% สำหรับสินค้าในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics items) และ 5% สำหรับสินค้านอกหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Non-Electronics items) รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ที่ ค่าธรรมเนียม Shopee
Credit Term และการถอนเงินออกจาก Seller Balance
ยอดเงินคงเหลือหลังหักค่าธรรมเนียมจากการขายสินค้าจะถูกโอนเข้า Seller Balance ภายใน 2 – 3 วันทำการเมื่อ
ผู้ซื้อทำการกดยืนยันการโอนเงินให้กับร้านค้า
พ้นช่วงเวลาการการันตีโดย Shopee
โดยหลังจากที่ยอดเงินถูกโอนเข้าสู่ Seller Balance ร้านค้าสามารถโอนเงินเข้าบัญชีที่ผูกไว้ได้ทันที โดยมีวิธีคือ ไปที่ Seller Center > Seller Balance > กดถอนเงินและเลือกบัญชีธนาคารที่เคยผูกไว้
หลายคนอาจจะสงสัยว่าการเปิดร้านค้าบน Shopee ดียังไงกับเราบ้าง จากการจัดอันดับของ ipricethailand.com ระบุว่า Shopee เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีผู้เข้าใช้งานมากที่สุดในเมืองไทย เมื่อเป็นอย่างนี้ การเปิดร้านขายของใน Shopee ย่อมเพิ่มโอกาสในการมองเห็นและการเป็นที่รู้จักให้กับแบรนด์ของเราได้มากที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้ การเปิดร้านกับช้อปปี้ก็ทำได้สะดวกรวดเร็วและไม่ยาก โดยหากใครที่กำลังศึกษาวิธีสมัครขายของใน Shopee อยู่นั้น เราแนะนำให้ลองนำบทความชิ้นนี้ไปใช้เป็นคู่มือประกอบได้เลย และหากใครมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน Shopee ละก็ สามารถติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าสัมพันธ์ โดยตรงได้เลยที่ลิงค์ Help.shopee.co.th หรือติดต่อ Call Center ที่เบอร์ 02-071-8399